
สารบัญ
ทั้งกษัตริย์และจักรพรรดิ ต่างเป็นเจ้าผู้ครองแผ่นดินเหมือนกัน ยังไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในฐานันดรทั้งสองประเภทนี้โดยชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวของได้แก่ การตีความของนักประวัติศาสตร์ ขนาดและลักษณะของอาณาจักรที่ทรงปกครอง และชื่อตำแหน่งที่ราชวงศ์นั้นๆ เลือกที่จะเรียกตนเอง ลักษณะเฉพาะที่อาจนับเป็นปัจจัยให้ใช้! ฐานันดรจักรพรรดิอาจสรุปได้หลายทางดังนี้
การเลือกใช้ชื่อตำแหน่งโดยพระราชาได้กลายเป็นแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมในภาษาอังกฤษ กล่าวคือความต่างที่ว่าพระราชาควรเป็นพระมหากษัตริย์หรือเป็นพระจักรพรรดิไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวอีกต่อไป ต่างจากตำแหน่งพระราชาที่เป็น ฟาโรห์ กาลิบห์ สุลต่าน หรือข่าน ซึ่งยังมีการกำหนดแยกชัดเจนอยู่
พระราชา หรือกษัตริย์ที่ทรงฐานันดรที่สามารถแปลตามปกติเป็นภาษาอังกฤษเป็น Emperor ได้ และ/หรือได้รับการยอมรับเป็น "จักรพรรดิ" จากความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างประเทศ
เป็นราชาหรือกษัตริย์ (ทางพฤตินัย หรือ เป็นในนาม) ที่เป็นประมุขของรัฐาธิปไตยอื่นด้วยโดยที่ไม่ถอดถอนความเป็นราชาของรัฐอื่นที่ตนปกครอง
เป็นราชาที่ถือว่าสืบเชื้อสายจากเทพเจ้าหรือดำรงตำแหน่งสูงทางศาสนาโดยการแสดงตนโดย
ทางพิธีการและความเชื่อมั่นทางศาสนา เช่น โรมโบราณ หรือจักรพรรดิญี่ปุ่น
ฝ่ายบ้านเมืองหรือพระราชามีอำนาจสูงกว่าศาสนจักร (Caesaropapism) พระราชาในยุโรปที่เป็นคริสเตียนจะถือตนเองเป็นเพียงกษัตริย์ (King) ไม่เรียกตนเป็นจักรพรรดิ์ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษที่มีปัญหาขัดแย้งกับพระสันตปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไม่ยอมลงรอยกับโรมก็ได้เรียกตำแหน่งของพระองค์โดยใช้คำว่า "อิมพีเรียม" (imperium) และพระราชาแห่งรัสเซียก็เรียกตนเองว่าซาร์ซึ่งหมายถึงจั�! �รพรรดิเพราะถือพระองค์ว่าอยู่เหนือศาสนารัสเชียนออร์โทดอกซ์ แต่ก็จะพระองค์จะอยู่ภายใต้พระเจ้าเท่านั้น
เป็นประเพณียุโรป (คริสเตียน) ที่พระราชาสามารถสืบย้อนพระราชวงศ์ไปถึงสมัยโรมัน หรือที่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิโรมัน (ไบแซนไทน์) ในการสืบทอดอำนาจ
ข้อแตกต่างระหว่างจักรพรรดิกับเจ้าผู้ครองแผ่นดินแบบอื่น
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีการใช้ฐานันดรพระราชาในระดับ "จักรพรรดิ" ทั้งในโลกซีกตะวันตกซึ่งเริ่มจากยุคโรมันและต่อด้วยยุคคริสเตียน ทางซีกโลกตะวันออกมีประเพณีที่แตกต่างจากตะวันตก ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งจีนและญี่ปุ่นอ้างความเป็นจักรพรรดิว่าสืบเชื้อสายมาจากสรวงสวรรค์ เจงกิสข่านถือว่าพระองค์ได้อำนาจจากธรรมชาติอันยิ่ง�! �หญ่ จักรพรรดิญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์
จักรพรรดิในโลกตะวันตกและตะวันออก
รายพระนามของจักรพรรดิ
จักรพรรดิโดยการเป็นจักรวรรดิแบบทั่วไป
จักรวรรดิเปอร์เชีย (16 ปี ก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 213) ดูรายชื่อกษัตริย์เปอร์เชีย
จักรวรรดิแห่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (พ.ศ. 209 – พ.ศ. 262)
จักรวรรดิมอร์ยา (Mauryan Empire) (พ.ศ. 222 – พ.ศ. 358) ดู ราชวงศ์มอร์ยา
จีน (จักรวรรดิ พ.ศ. 322 – พ.ศ. 2454) ดู จักรพรรดิแห่งประเทศจีน และ ตารางพระเจ้าแผ่นดินจีน
จักรวรรดิโรมัน (พ.ศ. 516 – พ.ศ. 1019) ดู รายชื่อจักรพรรดิโรมัน
จักรวรรดิโบราณ
ประเพณีตะวันตกและไบแซนไทน์
เจ้าผู้ปกครองเวียดนามพระองค์แรกที่ใช้ฐานันดรจักรพรรดิ (ฮวงเด) ได้แก่จักรพรรดิดินห์ โบ ลิน ผู้สถาปนาราชวงศ์ดินห์เมื่อ พ.ศ. 1509 ดู รายพระนามราชวงศ์เวียดนาม
ญี่ปุ่น (พระจักรพรรดิที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "เทนโน" นับแต่ประมาณ พ.ศ. 1200 เป็นต้นมา ดู จักรพรรดิญี่ปุ่น และรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
จักวรรดิอ็อตโตมาน (พ.ศ. 1842 – พ.ศ. 2465) ดู ราชวงศ์อ็อตโตมาน
เอทิโอเปีย (จักรวรรดิ พ.ศ. 1813 – พ.ศ. 2518) ดู จักรวรรดิเอทิโอเปีย และรายพระนามจักรพรรดิเอทิโอเปีย
จักรวรรดิแอซเต็ก (พ.ศ. 1918 – พ.ศ. 2064) ดูเฮวยี ตลาโทอานิ (Hueyi Tlatoani)
จักรวรรดิอินคา (พ.ศ. 1981 – พ.ศ. 2076) ดู ซาปา อินคา (Sapa Inca)
จักรวรรดิเปอร์เชีย (อิหร่าน) (พ.ศ. 2044 – พ.ศ. 2522) ดู รายพระนามกัตริย์แห่งเปอร์เชีย
จักรวรรดิโมกุล (พ.ศ. 2059 – พ.ศ. 2400) ดู รายพระนามจักรพรรดิโมกุล
จักรวรรดิดูร์รานี (พ.ศ. 2290 – พ.ศ. 2366)
ราชวงศ์ทาลเปอร์ (พ.ศ. 2326 – พ.ศ. 2386)
沒有留言:
張貼留言